ในช่วงปี 1949 – 1976 ของ เฝิง โหย่วหลาน

วันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ.1949  ได้สถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน   และวันที่ 5 ตุลาคม เฝิง โหย่วหลานได้เขียนจดหมายเรียกร้องถึงเหมาเจ๋อตงว่า “สมัยก่อนการเรียนปรัชญาเพื่อส่งเสริมระบบศักดินาจะเสริมสร้างความมั่นคงให้แก่พรรคก๊กมินตั๋ง  ตอนนี้ข้าพเจ้าได้เปลี่ยนความคิดแล้วว่าเรียนลัทธิมาร์กซิสต์ดีกว่า”[5]   เหมาเจ๋อตงตอบจดหมายกลับมาว่า “ในอดีตเคยทำผิดพลาดมาก่อน”  แล้วเตือนว่า “จงใช้ความซื่อสัตย์อย่างเหมาะสม”  เฝิง โหย่วหลานตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งคณบดีคณะอักษรศาสตร์และหัวหน้าภาควิชาปรัชญาแห่งมหาวิทยาลัยชิงหัว     และภายในปี 1950  เขาถูกส่งตัวไปเข้าร่วมขบวนการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงสังคมที่เขตชนบท     ปี 1952  เขาถูกย้ายไปทำงานที่ภาควิชาปรัชญาแห่งมหาวิทยาลัยปักกิ่ง     หลังจากที่สร้างชาติเฝิง โหย่วหลานก็ได้ทบทวนปัญหาทางประวัติศาสตร์ด้วยตนเองอยู่หลายครั้ง   โดยประกาศต่อสาธารณชนทั้งในและนอกประเทศว่า “ลัทธิขงจื่อใหม่เป็นศัตรูของลัทธิมาร์กซ์ – เลนิน และลัทธิเหมา...[6] เป็นศัตรูของประชาชน...[7] เป็นการสนับสนุนสังคมกึ่งศักดินากึ่งอาณานิคมของจีนในยุคนั้นและเป็นการสยบต่ออำนาจของรัฐบาลพรรคก๊กมินตั๋ง...[8]    ผลงานที่ผ่านมาของข้าพเจ้าล้วนไม่มีคุณค่าใดๆ ทั้งนั้น...[9] ข้าพเจ้าได้สำนึกผิดต่อตำราที่ได้เขียนขึ้นทั้งหมดในช่วงยุค 1940’s ”   เขาได้แสดงท่าทีร่วมมือกับรัฐบาลคอมมิวนิสต์   เขาได้หาคำพูดของลัทธิมาร์กซิสต์มาใช้ในการแสดงความคิดเห็น   และได้เขียนหนังสือ “ประวัติศาสตร์ปรัชญาจีน ฉบับใหม่”  ออกมา 2 เล่ม    ปี 1955  เขาได้เข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองและร่วมอภิปรายกับหูชื่อและเหลียงชู่หมิง    ปี 1962  มีการจัดประชุมขึ้นเป็นครั้งที่ 2 โดยสภากรรมการที่ปรึกษาแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน  หลังจากเสร็จสิ้นการประชุมเฝิง โหย่วหลานได้เขียนบทกลอนให้แก่ท่านประธานเหมาว่า “คฤหาสน์หวยเหรินกำเนิดบุหงาบานสะพรั่ง สายลมแห่งวสันตฤดูส่งกลิ่นหวนหอม (怀仁堂后百花香,浩荡春风感众芳)”[10]

เมื่อเริ่มปฏิวัติวัฒนธรรมในปี 1966   ผลงานเฝิง โหย่วหลานถูกคัดลอกไว้ในนิตยสาร “คอกวัว” (牛棚)  จนกระทั่งปี 1968 จึงยกเลิกการคัดลอก   ปี 1973  ได้เกิดขบวนการวิพากษ์วิจารณ์แนวคิดขงจื่อและหลินเปียวอย่างรุนแรง   เฝิง โหย่วหลานได้รับหน้าที่เป็นผู้ให้คำปรึกษาของทีมงานที่เขียนผลงาน “เหลียงเซี่ยว” (粱效) เพื่อให้แก๊งสี่สหายเข้าใจว่า “จงออกมาจากกรอบความคิดโบราณแล้วทำลายลัทธิขงจื่อซะ”     แล้วตีพิมพ์บทความ “วิจารณ์ความคิดลัทธิขงจื่อที่ข้าพเจ้าเคยสนับสนุน” และ “การต่อสู้ระหว่างแนวคิดโบราณกับแนวคิดสมัยใหม่” ในหนังสือพิมพ์รายวันกวางหมิง《光明日报》  ต่อมาก็ได้ผลิตผลงาน “บทวิจารณ์ขงจื่อ” เพื่อสนับสนุนแก๊งสี่สหายของเจียงชิง    ในหนังสือเหล่านี้ เฝิง โหย่วหลานได้กล่าวว่า “ลัทธิขงจื่อในช่วงก่อนปี 1949 เสริมสร้างให้คนมีอำนาจและมีฐานะร่ำรวย  โดยเฉพาะอย่างยิ่งใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองของพรรคก๊กมินตั๋ง...   หลังจากปี 1949  ลัทธิขงจื่อถูกใช้เป็นเครื่องมือในการต่อต้านการปฏิวัติของหลินเส้าฉีและหลินเปียว”[11]   ผู้ที่สามารถเข้าร่วมขบวนการวิจารณ์ขงจื่อนับว่าเป็นความสุขที่แท้จริง [12] มีนักปรัชญาขงจื่อรุ่นหนึ่งกล่าวว่า “ถึงเวลาที่ต้องส่งเสียงวิจารณ์ขงจื่อ”[13] เฝิง โหย่วหลานได้ทำงานใกล้ชิดกับเจียงชิง  จนกระทั่งปี 1976  แก๊งสี่สหายของเจียงชิงสูญเสียอำนาจ  ทีมงานที่ผลิตผลงาน “เหลียงเซี่ยว” ถูกเซ้ง  ส่วนเฝิง โหย่วหลานก็ถูกดำเนินคดีแล้วติดคุกเป็นเวลานาน